Home » Fire Alarm : เรียนรู้เบื้องต้น ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีกี่แบบ

Fire Alarm : เรียนรู้เบื้องต้น ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีกี่แบบ

by admin
403 views
1.Fire Alarm เรียนรู้เบื้องต้น ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีกี่แบบ

เรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire alarm system

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เป็นระบบความปลอดภัยที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับและแจ้งเตือนให้ผู้คนรู้เมื่อเกิดไฟไหม้ภายในอาคาร โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน และสัญญาณแจ้งเหตุแบบเสียง เมื่ออุปกรณ์ตรวจจับควันหรือตรวจจับความร้อนตรวจพบไฟไหม้ ควัน หรืออุณหภูมิที่สูง ก็จะส่งสัญญาณไปยังแผงควบคุม แล้วเปิดใช้งานการแจ้งเตือน ทำให้สัญญาณแจ้งเหตุทำงาน 

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ประเภทต่างๆ แบ่งตามวิธีการตรวจจับ พร้อมหลักการทำงาน

2.ระบบแจ้งเหตุประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการตรวจจับไฟที่พึ่งไหม้ หรือกำลังคุกรุ่น

ตรวจจับด้วยวัตถุกัมมันตภาพรังสี

ระบบแจ้งเหตุแบบนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจจับไฟที่กำลังลุกไหม้ ภายในสัญญาณเตือนจะมีวัตถุที่เป็นกัมมันตภาพรังสีเล็กน้อย ที่เล็กน้อยมากๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยวัตถุนั้นจะอยู่ระหว่างแผ่นประจุไฟฟ้าสองแผ่น สิ่งนี้จะทำให้เกิดกระแสอากาศที่แตกตัวเป็นไอออนระหว่างแผ่นทั้งสอง เมื่อควันเข้าไประหว่างกระแสไอออน มันจะไปขัดขวางกระแสไอออน และทำให้สัญญานเตือนส่งเสียงดังนั่นเอง

ตรวจจับด้วยควัน

ระบบแจ้งเหตุประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการตรวจจับไฟที่พึ่งไหม้ หรือกำลังคุกรุ่น ควันที่เกิดจากไฟที่พึ่งเริ่มไหม้จะมีความแตกต่างจากควันของไฟที่ไหม้อย่างรุนแรง หลักการทำงานของมัน ก็คือ เมื่อมีควันเข้าไปในพื้นที่ตรวจจับภายในเซนเซอร์ มันจะสะท้อนเลเซอร์ไปในเซนเซอร์จับแสง และตัวเซนเซอร์ก็จะส่งสัญญาณไปยังบอร์ดการทำงานหลัก แล้วเริ่มส่งสัญญาณเตือนเลยทันที

แบบผสมผสาน

มันก็ คือ การนำสองรูปแบบข้างบนมาไว้ในเซนเซอร์ตัวเดียวกัน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการตรวจจับนั้นดีไม่เท่ากับแบบเฉพาะทาง จึงนิยมใช้ในครัวเรือน

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ประเภทต่างๆ แบ่งตามวิธีการเตือน

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบทั่วไป

ระบบนี้จะใช้สายไฟเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันกับแผงควบคุม หลักการทำงานของมันก็ง่ายๆ เมื่ออุปกรณ์ตรวจจับควันซึ่งมีสองประเภทอย่างที่เราได้แนะนำไปในด้านบน ตรวจจับได้ว่ามีควัน มันจะส่งสัญญาณผ่านสายไฟไปยังแผงควบคุม และเปิดสัญญาณเตือน สัญญาณเตือนก็มีทั้งส่งเสียงดัง และไฟกะพริบ

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบระบุตำแหน่ง

ระบบแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีสายเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่งสัญญาณ มันจะใช้ระบบเครือข่ายการสื่อสารแบบดิจิทัลส่งสัญญาณไปยังหน่วยงานป้องกันและดับเพลิงเมื่ออุปกรณ์ตรวจจับควันสามารถตรวจจับควันได้ ซึ่งในบางรุ่นก็อาจจะสามารถส่งสัญญาณไปยังแอปพลิเคชันบนมือถือได้อีกด้วย

3.วิธีการบำรุงรักษาและทดสอบการใช้งานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

วิธีการบำรุงรักษาและทดสอบการใช้งานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

  • ทดสอบส่วนประกอบทั้งหมดเป็นประจำด้วยการสร้างควันให้อุปกรณ์ทำงาน อย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง 
  • เปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นประจำ 
  • ทำความสะอาดและปัดฝุ่นอุปกรณ์ให้มีความสะอาดอยู่เสมอ เพราะฝุ่นและความสกปรกสามารถนำไปสู่การทำงานที่ผิดพลาดและคลาดเคลื่อนได้ 
  • ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และ ทดสอบระบบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 

รู้จักกับ NFPA 72 มาตรฐานสำหรับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

มาตรฐานนี้เขียนขึ้นโดย National Fire Protection Association  NFPA ซึ่งระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกแบบ การติดตั้ง การบำรุงรักษา และการทดสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มาตรฐานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้นั้นสามารถใช้งานได้จริง มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ โดย NFPA 72 เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมหลากหลายหัวข้อ โดยหลักๆ ได้แก่

  • จัดประเภทของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และจัดประเภทของอุปกรณ์ต่างๆ
  • ข้อกำหนดในการออกแบบและติดตั้งระบบ รวมไปถึงข้อกำหนดสำหรับการจัดสายไฟ แหล่งจ่ายไฟ และส่วนประกอบอื่นๆ
  • ข้อกำหนดในการบำรุงรักษาและทดสอบการใช้งาน 
  • ข้อกำหนดสำหรับระบบการส่งสัญญาณและการแจ้งเตือน  รวมถึงข้อกำหนดด้านการแจ้งเตือนด้วยเสียง แสงไฟ และวิธีการแจ้งเตือนอื่นๆ

หากคุณอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ NFPA 72 มากขึ้น คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ NFPA 72

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Blog คนรุ่นใหม่เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆที่มีประโยชน์ บทความด้านความปลอดภัยในการทำงานพร้อมอับเดทใหม่สดทุกวัน

@2024 – Machineblog. All Right Reserved. Designed and Developed by machineblog