Home » ไขข้อข้องใจ : ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามกฎหมายใหม่ คือใคร

ไขข้อข้องใจ : ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามกฎหมายใหม่ คือใคร

by admin
1.1K views
ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ได้ตามกฎหมาย คือใคร

การตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ต้องได้รับการตรวจสอบโดย ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ที่ผ่านคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนดเพื่อตรวจสอบบริภัณฑ์ไฟฟ้า เป็นการตรวจสอบเพื่อดูว่าระบบไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้ายังคงอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยพร้อมใช้งานหรือไม่ หรือหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจะทำให้เราทราบถึงสาเหตุและสามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบก่อนที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นซึ่งปัจจุบันมีข่าวไฟไหม้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและสาเหตุส่วนใหญ่มาจากไฟฟ้าลัดวงจรนั่นหมายความว่าเกิดจากระบบไฟฟ้าหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่บกพร่องหรือเสื่อมสภาพจึงมีความจำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความพร้อมและสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า2

กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

  • การตรวจสอบระบบไฟฟ้า มีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฉบับด้วยกันคือกฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงานพ.ศ. 2550 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าพ.ศ. 2558 ซึ่งกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับมีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกันคือกำหนดให้นายจ้างหรือผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องมีเอกสารหลักฐานในการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวด้วย

ใครคือ ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ตามกฎหมาย

  • จากที่กล่าวไปข้างต้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีกฎหมายหลักอยู่ 2 ฉบับด้วยกันเรามาดูกันว่าแต่ละฉบับกำหนดไว้ว่าอย่างไรใครตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามกฎหมายได้บ้าง
  • ฉบับที่ 1 กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550

กำหนดไว้ว่า ข้อ 5 ผู้ระกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรอง ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจำทุกปีโดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวต้องจัดให้มีเอกสารเป็นหลักฐาน

ซึ่งกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดว่าผู้ที่สามารถตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าได้คือวิศวกรหรือบุคคลที่รัฐมนตรีกำหนดและได้ให้ความหมายของวิศวกรไว้ว่าวิศวกรหมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร  

นั่นหมายความว่าผู้ที่สามารถตรวจสอบและรับรองได้จะต้องเป็นวิศวกรที่มีใบกว.สาขาไฟฟ้านั่นเองไม่ใช่เพียงแค่เรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้าเท่านั้นเพราะหากไม่มีใบกว. ก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าได้

ฉบับที่ 2 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย 

อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 กำหนดไว้ว่า ข้อ 12 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และให้บุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน .. 2554 แล้วแต่กรณี เป็นผู้จัดทำบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

ในส่วนของกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดว่าผู้ที่จะตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าได้ต้องขึ้นทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในพรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2554 เรามาดูกันว่ามาตรา 9 และมาตรา 11 กำหนดว่าอย่างไรบ้าง

มาตรา 9 บุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง 

รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องขึ้นทะเบียนต่อสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

มาตรา 11 นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความ

เสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี

ซึ่งในส่วนของพรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2554 ยังได้กำหนดบทลงโทษไว้อีกด้วยว่า “ผู้ใดให้บริการตรวจวัดตรวจสอบทดสอบรับรองประเมินความเสี่ยงจัดฝึกอบรมหรือให้คำรึกษาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือไม่ได้รับอนุญาตตามมาตร 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” และเมื่อมีการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าแล้วต้องแจ้งต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตรวจสอบ

สรุป 

การตรวจสอบ และ รับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า และ บริภัณฑ์ไฟฟ้า ต้องทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรไฟฟ้าที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 11 หรือวิศวกรไฟฟ้าที่มีใบ กว. แล้วแต่กรณี โดยการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า หากนายจ้างดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

โดยมีวิศวกรไฟฟ้าเป็นผู้บันทึกผลการตรวจสอบให้ถือว่าเป็นการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 แล้ว

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Blog คนรุ่นใหม่เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆที่มีประโยชน์ บทความด้านความปลอดภัยในการทำงานพร้อมอับเดทใหม่สดทุกวัน

@2023 – Machineblog. All Right Reserved. Designed and Developed by machineblog