Home » รู้ถึงภัย : การทำงานในที่อับอากาศ และ อันตรายที่พบได้บ่อย

รู้ถึงภัย : การทำงานในที่อับอากาศ และ อันตรายที่พบได้บ่อย

by admin
206 views
ที่อับอากาศ

อันตรายที่พบบ่อยใน การทำงานในที่อับอากาศ มีอะไรบ้าง เตรียมตัวรับมืออย่างไร

พื้นที่อับอากาศ เป็นที่รู้กันว่า มีทางเข้าออกจำกัด มีขนาดใหญ่พอที่จะให้คนเข้าไปทำงานได้ แต่ไม่ได้ถูกออกแบบให้คนเข้าไปพักหรือทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งงานในพื้นที่อับอากาศเป็นงานที่มีอันตรายสูง จึงจำเป็นต้องมีระบบการอนุญาตให้ปฏิบัติในพื้นที่อับอากาศ และไม่ใช่ว่าใครก็สามาถทำงานอับอากาศได้ การทำงานในที่อับอากาศ นั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด และต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ที่แพทย์ระบุว่าสามารถทำงานในที่อับอากาศได้ เรามาดูกันว่าอันตรายที่พบบ่อยในพื้นที่อับอากาศมีอะไรบ้าง

อันตรายที่พบบ่อย จาก การทำงานในที่อับอากาศ

จากการศึกษาระบุสาเหตุหลัก 4 ประการของการเกิดอุบัติเหตุในที่อับอากาศซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บได้แก่

อันตรายจากบรรยากาศเป็นพิษ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • สภาวะขาดอากาศหายใจ ที่เกิดจากระดับออกซิเจนต่ำ ในกรณีนี้อาจเกิดจากออกซิเจนถูกแทนที่ด้วยก๊าซชนิดอื่น เช่น ไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์
  • การสูดดมสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายในอากาศ เช่น ก๊าซพิษ ไอระเหย ควันและฝุ่นละอองอุบัติเหตุและการช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศเป็นพิษ มีความเสี่ยงอย่างมากต่อการช่วยเหลือของหน่วยกู้ภัย มีรายงานหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้าไปช่วยเหลือแต่ทำให้หมดสติ ทำให้การช่วยเหลือนั้นทำได้ยากและมีความซับซ้อนมากขึ้น

ที่อับอากาศ

อันตรายจากบรรยากาศที่ติดไฟได้

การบาดเจ็บที่เกิดจากไฟไหม้และการระเบิดในพื้นที่อับอากาศในหลายประเทศ มีปริมาณของก๊าซไวไฟหรือระเบิดได้ แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าขีดจำกัดล่าง (LEL) ที่พบมากที่สุดคือ 10% หรือต่ำกว่า

อันตรายจากการถมทับหรือการจม

การจม เป็นผลมาจากการจมอยู่ในของเหลว เช่น น้ำมันหรือน้ำ ซึ่งนำไปสู่การจมน้ำหรือขาดอากาศหายใจ หรืออาจเกิดจากของแข็งที่ไหลลงมาถมทับ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายดังกล่าว

อันตรายทางกายภาพ

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อับอากาศที่เกิดจากอันตรายทางกายภาพ สิ่งเหล่านี้ รวมถึง การตกจากที่สูง การกระแทกกับวัตถุที่ตกลงมา การติดอยู่ในเครื่องจักร และไฟฟ้าช็อต สิ่งที่น่าสนใจคือ อันตรายทางกายภาพและการบาดเจ็บหลายอย่างมักเชื่อมโยงกับบรรยากาศ เช่น การสัมผัสกับออกซิเจนต่ำหรือก๊าซพิษอาจทำให้คนงานหมดสติและตกลงมาจากที่สูงหรือตกลงมาในแอ่งน้ำได้

บรรยากาศอันตรายเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุถึง 62% ของอุบัติเหตุทั้งหมดที่เกิดขึ้นในพื้นที่อับอากาศเปอร์เซ็นต์ที่สูงนี้แสดงให้เห็นว่าอันตรายในชั้นบรรยากาศที่มองไม่เห็นนั้นเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่อับอากาศแต่ยังมีคนงานที่ต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการและรับมือกับความเสี่ยงนี้

ระบบอนุญาตที่อับอากาศ

ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยในที่อับอากาศ

ต่อไปนี้ คือข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศเพื่อความปลอดภัย

  • ต้องมีระบบการอนุญาต (Workpermit) ให้ทำงานในที่อับอากาศ เนื่องจากงานในที่อับอากาศเป็นงานที่มีอันตรายสูงมาก จึงจำเป็นต้องมีระบบการอนุญาต เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติ
  • ผู้ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการฝึกอบรมที่อับอากาศตามกฎหมาย
  • ใช้ระบบมัลติล็อคกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหากอยู่ในพื้นที่อับอากาศ
  • พื้นที่อับอากาศต้องปราศจากก๊าซที่ติดไฟได้หรือก๊าซเฉื่อยโดยการไล่หรือระบายอากาศ หากจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศต้องทำการระบายก๊าซดังกล่าวออกเสียก่อน
  • ต้องมีการทดสอบก๊าซเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีก๊าซพิษ ก๊าซไวไฟ หรือก๊าซที่ติดไฟได้
  • ต้องตรวจวัดก๊าซ H2S หรือที่เรารู้จักกันในนามของก๊าซไข่เน่า ก่อนการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศเนื่องจากก๊าซดังกล่าวจะไปจับกับ cytochrome ในกระบวนการถ่ายทอดอิเลคตรอน ทำให้กระบวนการหายใจโดยใช้ออกซิเจนถูกขัดขวาง ทำให้เกิดสภาวะ lactic acidosis มากขึ้น ซึ่งหากสูดหายใจเอา H2S ที่มีความเข้มข้นสูงอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ต้องระบบฟส่องสว่างที่เหมาะสม และต้องเป็นชนิดป้องกันการระเบิด
  • ต้องมีการระบายอากาศที่เหมาะสม ทั้งการระบายอากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ หรือใช้พัดลมระบายอากาศ
  • มีบอร์ดแสดงการเข้าไปปฏิบัติงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีใครบ้างที่กำลังปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ 
  • สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม และต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จะไม่ทำให้เกิดอันตรายเพิ่มมากขึ้น เช่น ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น

สรุป

การทำงานในพื้นที่อับอากาศ สถานประกอบการที่มีที่อับอากาศจะต้องศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 ก่อนการปฏิบัติงาน ต้องมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อให้รู้ถึงขั้นตอนการทำงาน อันตรายที่อ่จเกิดขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกัน ไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน

รวมถึงการกำหนดแผนฉุกเฉินในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในพื้นที่อับอากาศได้อย่างทันท่วงที เพราะหากเราสามารถดำเนินการได้รวดเร็วเท่าไหร่ ความสูญเสียก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Blog คนรุ่นใหม่เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆที่มีประโยชน์ บทความด้านความปลอดภัยในการทำงานพร้อมอับเดทใหม่สดทุกวัน

@2023 – Machineblog. All Right Reserved. Designed and Developed by machineblog