Home » เคล็ดลับเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานรถยก

เคล็ดลับเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานรถยก

by admin
256 views
Forklift-for-safety

เคล็ดลับเพื่อ ความปลอดภัยในการใช้งานรถยก มีอะไรบ้าง

เนื่องจากอุบัติเหตุจากรถยกคิดเป็น 10% ของการบาดเจ็บในที่ทำงานดังนั้นการรู้วิธีทำงานเพื่อ ความปลอดภัยในการใช้งานรถยก เป็นสิ่งที่ควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุนี้การใช้งานรถยกหรือการอยู่ร่วมกับรถยกจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากรถยกวันนี้เราจะมาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่จะทำให้เราสามารถใช้งานรถยกได้อย่างปลอดภัย

รู้จักหน้าที่ของตนเอง

การบำรุงรักษาและปรับปรุงความปลอดภัยของรถยกขึ้นอยู่กับความพยายามของหลายฝ่าย และแต่ละคนมีหน้าที่ของตัวเอง มาดูหน้าที่ของแต่ละคนว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

นายจ้างหัวหน้างานและผู้จัดการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • สร้างโปรแกรมการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับรถยกเป็นลายลักษณ์อักษร
  • ตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมด้านความลอดภัยเกี่ยวกับรถยกอย่างเหมาะสม
  • ให้พนักงานที่มีประสบการณ์และมีความสามารถเท่านั้นทำหน้าที่ในการกำกับดูแลด้านความความปลอดภัย
  • ตรวจสอบพนักงานให้ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยและให้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
  • ระบุวิธีการปรับปรุงการดำเนินงานที่ปลอดภัยในสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและนโยบายบริษัท

พนักงานขับรถยก มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและนโยบายของบริษัท
  • สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
  • รายงานข้อบกพร่องของอุปกรณ์ต่อหัวหน้างานเพื่อแก้ไข
  • ทำงานอย่างปลอดภัยตลอดเวลาโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน หรือสิ่งที่อยู่ในพื้นที่การทำงาน

train forklift

ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเพื่อ ความปลอดภัยในการใช้งานรถยก

การฝึกอบรมรถยกที่มีคุณภาพเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปรับปรุงความปลอดภัยของรถยก OSHA ประมาณการว่า 70% ของข้อผิดพลาดสามารถป้องกันได้โดยการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม แล้วอะไรคือการฝึกอบรมรถยกที่เหมาะสม โดยรวมแล้ว OSHA กำหนดให้นายจ้างจัดเตรียมดังต่อนี้

  • คำแนะนำอย่างเป็นทางการ : รวมถึงบทเรียนที่ครอบคลุมหัวข้อด้านความปลอดภัยของรถยกทั้ง 22 หัวข้อที่ระบุไว้ในมาตรฐาน 1910.178(I)(3)(i) และ 1910.178(I)(3)(ii)
  • การฝึกอบรมและการประเมินผลภาคปฏิบัติ 
  • การรับรอง 

OSHA ยังกำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยทุกๆ 3 ปี และหากผู้ปฏิบัติงานทำสิ่งที่ไม่ปลอดภัยหรือหากสภาพสถานที่ทำงานเปลี่ยนไป จะต้องจัดให้มีการทบทวนที่ถี่ขึ้น

  • ติดตั้งและบำรุงรักษา Safety Guards

OSHA กำหนดให้รถยกมีการติดตั้งเครื่องป้องกันเหนือศีรษะ (Overhead guard) สิ่งนี้จะช่วยปกป้องผู้ปฏิบัติงานจากวัตถุที่ตกลงมา ควรตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันศีรษะเป็นประจำเพื่อหาข้อบกพร่อง เช่น รูหรือรอยบุบ เมื่อพบข้อบกพร่องต้องรีบแก้ไข และนอกจากเครื่องป้องกันศีรษะแล้ว OSHA ยังกำหนดให้มี load backrest ซึ่งจะช่วยให้สัมภาระอยู่กับที่ แต่บ่อยครั้งผู้ปฏิบัติงานจะถอดออก เพื่อให้เข้าถึงระดับที่สูงขึ้นโดยไม่ชนเพดานแต่จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้สิ่งของที่ยกตกลงมาได้ 

  • ห้ามดัดแปลงรถยก

OSHA ระบุว่า การแก้ไขและเพิ่มเติมที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการยกและความปลอดภัยในการทำงาน จะต้องไม่ดำเนินการโดยลูกค้าหรือผู้ใช้งาน จะต้องดำเนินการโดยผู้ผลิต 

  • แสงสว่างที่เหมาะสม

การใช้งานของรถยกมักใช้ในพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อย เช่น โกดัง รถกึ่งพ่วง และรถราง เมื่อใช้งานในพื้นที่เหล่านี้โดยไม่มีแสงสว่างที่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

  • ติดตั้งเครื่องตรวจจับก๊าซ 

สำหรับรถยกที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซ LPG มักใช้ภายในอาคาร การตรวจสอบความเข้มข้นของก๊าซในพื้นที่การทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะหากปริมาณก๊าซมากเกินไป อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้

  • ใช้ความระมัดระวังเมื่อขนถ่ายกับรถพ่วง

การขนย้ายกับรถพ่วงมีความเสี่ยงหากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสม ซึ่งต้องตั้งเบรคทุกครั้งและหนุนล้อรถ และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่เกินพิกัดยกที่กำหนด

  • ตรวจสอบก่อนการใช้งาน

การตรวจสอบรถยกก่อนการใช้งาน ดำเนินการโดยผู้ปฏิบัติงาน โดยการตรวจสอบตาม check sheet และหากพบข้อบกพร่องจะต้องรีบแจ้งหัวหน้าและรีบดำเนินการแก้ไขโดยทันที

  • ติดตามการบำรุงรักษา

การบำรุงรักษารถยกเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลรถยกให้ใช้งานได้นานขึ้น และยังทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานด้วย

รู้วิธีลงจากรถยกอย่างปลอดภัยเมื่อพลิกคว่ำ

รถยกพลิกคว่ำเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิต ดังนั้น การรู้วิธีเอาตัวรอดจากสถานการณ์นี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยกที่ใช้งานด้วย

รถยกแบบนั่งขับ 
  • ให้นั่งอยู่กับที่ 
  • รั้งตัวเองไปด้านหลัง 
  • ถอยห่างจากจุดที่กระทบ
รถยกแบบยืน
  • ถอยหลังออกจากส่วนควบคุมเครื่อง
  • ออกให้ห่างจากรถยกเท่าที่ทำได้

ติดตั้งระบบตรวจจับตัวผู้ปฏิบัติงาน

อุปกรณ์ความปลอดภัยที่สำคัญที่สุด คือ เข็มขัดนิรภัย เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานถูกทับหากเกิดการพลิกคว่ำ ซึ่งหากผู้ปฏิบัติงานไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้

อย่าขับเร็ว

เนื่องจากรถยกมีน้ำหนักมาก จึงต้องใช้เวลาในการหยุดรถ หากขับด้วยความเร็วอาจจะไม่สามารถหยุดรถได้ทัน กรณีมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น

จัดการโหลดอย่างเหมาะสม

รถยกถูกออกแบบมาเพื่อยกและวางของ แต่การจัดโหลดให้เหมาะสมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโหลดมีรูปร่างขนาด และน้ำหนักที่แตกต่างกัน การจัดโหลดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการยก

รักษาแนวสายตาให้ชัดเจน

ผู้ควบคุมรถยกต้องรักษาทัศนวิสัยให้มองเห็นได้ย่างชัดเจน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการยก

ระวังคนเดินเท้า

ผู้ควบคุมรถยกต้องระวังคนเดินเท้าในพื้นที่การปฏิบัติงานด้วย เพราะหากไม่ระมัดระวังอาจเกิดอุบัติเหตุชนคนที่เดินในพื้นที่การปฏิบัติงานได้ ในปี 2560 สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐฯ พบว่าการชนคนส่งผลให้เสียชีวิตถึง 13%

แยกคนและรถยกออกจากกัน

การแยกคนกับรถยกออกจากัน สามารถช่วยให้เกิดความปลอดภัยสำหรับคนเดินเท้าได้ 

ไม่อนุญาตให้โดยสาร

รถยกไม่ใช่รถโดยสาร เนื่องจากไม่มีที่นั่งที่ปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร หากรถยกพลิกคว่ำอาจทำให้เสียชีวิตได้

ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการยกคนขึ้นที่สูง

การตกจากรถยกเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต 15% ในปี 2560 จึงควรใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น กระเช้า , X-Lift , Boom Lift เป็นต้น

ทางลาดชันขึ้นและลงอย่างถูกต้อง

เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุจากการขึ้นและลงทางลาดชัน ปฏิบัติดังนี้

  • ขับขึ้นลงทางลาดช้าๆ
  • ขับเคลื่อนด้วยน้ำหนักที่น้อยลงเพื่อลดโอกาสสิ่งของตกจากงา
  • ไม่ใช้ทางลาดถ้าเป็นไปได้

รักษาความสะอาดของอุปกรณ์

ควรทำความสะอาดรถยกเป็นประจำเพื่อให้รถยกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปฏิบัติตามขั้นตอนการเติมน้ำมันอย่างปลอดภัย

รถยกส่วนใหญ่ใช้ทั้ง LPG น้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือไฟฟ้า และแหล่งเชื้อเพลิงที่มีความเสี่ยงเมื่อต้องเติมน้ำมัน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานควรคำนึงถึงความปลอดภัยเมื่อเติมน้ำมันและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด

ห้ามเดินใต้งารถยก

ห้ามเดินใต้งารถยก เนื่องจากผู้ควบคุมรถยกอาจมองไม่เห็นและสิ่งของอาจตกลงมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งหากมีคนเดินลอดงารถยกอาจทำให้เกิดอันตรายได้

รักษาสภาพแวดล้อมการทำงานให้สะอาด ปลอดโปร่ง และอยู่ในสภาพดี

หากสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่สะอาด อาจทำให้มีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น

อย่าใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถยก

อย่าใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถยก เพราะอาจทำให้เสียสมาธิในการขับขี่และอาจเกิดอุบัติเหตุได้การใช้งานรถยกอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลาหากผู้ปฏิบัติงานใช้ไม่ถูกวิธีหรือไม่ทำตามมาตรการที่กำหนดขึ้นซึ่งอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานเองจึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักและให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Blog คนรุ่นใหม่เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆที่มีประโยชน์ บทความด้านความปลอดภัยในการทำงานพร้อมอับเดทใหม่สดทุกวัน

@2023 – Machineblog. All Right Reserved. Designed and Developed by machineblog